วันจันทร์, มิถุนายน 19, 2560

ณ วันนี้ยังจะมีเหลือใครบ้างที่ไม่ค้านอำนาจรัฐประหาร ดันรถไฟเร็วปานกลางไทย-จีน

ณ วันนี้ยังจะมีเหลือใครบ้างที่ไม่ค้านอำนาจรัฐประหาร ดันรถไฟเร็วปานกลางไทย-จีน

Thanapol Eawsakul ยกบทความ อ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการ มธ. สาย อยู่เป็นเขียนเรื่อง 'Memento mori' ไว้ที่ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1441942079183059&set=a.271670256210253.64010.100001018415956&type=3&hc_location=ufi

สรุปได้ง่ายๆ สั้นๆ ตามคำแปลของหัวเรื่อง "Memento mori - ท่านไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า"

ส่วน Atukkit Sawangsuk แชร์บทความจากมติชนเกี่ยวกับปฏิกิริยาของ ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์การต่อต้านคอรัปชั่น (ประเทศไทย) หนึ่งในบรรดานักปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ที่จะเป็นจะตายอย่างไรก็ ไม่เอาทักษิณ

ข้อใหญ่ใจความในโพสต์ชื่อ "โครงการรถไฟความเร็วสูง" ของ ACT-Anti Corruption Thailand เอ่ยถึง

สิ่งสำคัญที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว. คมนาคมในรัฐบาลชุดที่แล้วทำ แต่รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ทำ คือ
1. ยอมรับกลไกการตรวจสอบตามกฎหมายทุกประการเพื่อความโปร่งใส
2. ให้จัดซื้อโดยการประมูลแบบ International Bidding เพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรี เปิดรับเทคโนโลยีและข้อเสนอที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ
3. ประกาศแผนแม่บทของโครงการพัฒนาระบบขนส่งของประเทศให้ประชาชนทราบ”


ทุกวันนี้มีแต่คนนึกถึงคำของ สุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ คสช. อุ้มชูให้ไปหลบอยู่ในสภาปฏิรูป “ถนนลูกรังให้หมดไปจากประเทศไทย ก่อนที่จะไปคิดถึงระบบความเร็วสูง”

บ้างก็แว่วเสียงเจื้อยแจ้วของ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ “คิดว่า การมีรถไฟความเร็วสูงเป็นมาตรวัดของการพัฒนาประเทศ ไม่มีจะดิ้นตายหรือไง ประเทศจะเจริญได้ต้องปลอดการโกงว้อย”

ส่วนปู จิตรกร บุษบา ที่เห็นเล่าแจ้งกันลั่นเว็บว่าปิดเพจหนีไปแล้ว ปล่อยถ้อยคล้าสสิคที่เอามาใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอดสามปีที่ผ่านมาได้อย่างเหมาะเหม็ง

“ก่อนมีรถไฟความเร็วสูง ขอมีนายก ไอคิวสูง ก่อนได้มั้ย” ท่อนฮุกลงท้ายนี่เด็ดที่สุด “บ่องตง รกแผ่นดินชิหาย อินายกวัชพืชเนี่ย”

ล่าสุดเนื่องมาจากแถลงการณ์ของนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ที่คัดค้านการใช้อำนาจมาตรา ๔๔ จัดการเรื่องรถไฟไทย-จีน ๔ ประเด็น จนทำให้กระทรวงคมนาคม โดยนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงในฐานะรองโฆษกกระทรวง ต้องออกมาชี้แจงแก้ตัว

เรื่องยกเว้นวิศวกรและสถาปนิกจีนไม่ต้องอยู่ในบังคับกฎหมายไทยนั้น “ยกเว้นเพียงมาตรา ๔๕ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๙ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขอรับใบอนุญาต จึงมิได้เกี่ยวกับสิทธิในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในภายหลัง”

ส่วนที่ว่าคำสั่ง คสช. ใช้ ม.๔๔ ดังกล่าว ขัดหลักธรรมาภิบาล วินัยการเงิน และเป็นการเลือกปฏิบัติ ผู้ช่วยปลัดคมนาคมตอบว่ามี “ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘” กำกับอยู่แล้ว


นั่นก็ไม่ได้ช่วยให้เกิดความโปร่งใสขึ้นมาได้อย่างใด ในเมื่อ ก็คณะรัฐมนตรีชุดเดียวกันนี้มิใช่หรือที่มาเห็นพ้องกับการใช้อำนาจพิเศษ มอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่บริษัทก่อสร้างของจีนในโครงการรถไฟกรุงเทพฯ-นครราชสีมา

รัฐมนตรีชุดเดียวกันกับหัวหน้าคนเดิมที่เห็นพ้องกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลักประกันสุขภาพ จนเกิดการชุมนุมประท้วงของชาวบ้านทุกภาค ด้วยการไปชูป้ายเรียกร้องบ้าง ไปแสดงการคัดค้านในบริเวณสถานที่ประชุมประชาพิจารณ์บ้าง บางแห่งทำให้การประชุมดำเนินต่อไปไม่ได้

อันทำให้ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกสำนักนายกฯ กล่าวหาผู้ชุมนุม “ขอให้ดูให้ดีว่ากลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ จริงๆ หรือมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะไม่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลง”

ทั้งที่การเปลี่ยนแปลงที่โฆษกไก่อูอ้างนั้นไม่ชอบมาพากลหลายอย่าง ดังที่ขบวนการประชาชนชี้แจงไว้ อาทิ
ภาคประชาชนไม่มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม และในเนื้อหาการแก้กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕...

องค์ประกอบของคณะทำงานแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ ที่ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งขึ้นมานั้น ไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมต่อประชาชน

โดยโน้มเอียงไปในทางเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ให้บริการจากกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากสัดส่วนของคณะทำงาน ๒๖ คน มีตัวแทนของภาคประชาชนเพียง ๒ คน” ดังนี้เป็นต้น

(จากข้อเรียกร้องของกลุ่ม เครือข่ายซาวอีสานซอมเบิ่งบัตรทองดู http://prachatai.org/journal/2017/06/71996?utm_source=dlvr.it&utm_medium=twitter)

และแน่นอน นอกจากรัฐบาล คสช. จะไม่ฟังว่าชาวบ้านพูดอะไรแล้ว “เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย” (ในกรณีที่การจัดประชาพิจารณ์ที่ขอนแก่นต้องยุติลง)

ถ้าไม่หวยออกด้วย ม.๑๑๖ (อั้งยี่) หรือม. ๑๑๒ (หมิ่นฯ เบื้องบน) ก็อาจเจอข้อหาขัดขืนคำสั่ง คสช. บ้างละ หรือถ้าจังหวะเหมาะเบาะๆ อาจแค่ กีดขวางทางสาธารณะ และ/หรือ ร่วมกันข่มขืนใจสมาชิก อบต.อย่างเช่นที่ แม่หญิงเมืองเลย ๗ นางได้เจอ
โดยเมื่อ ๑๘ มิ.ย. เวลา ๑๑.๐๐ น. “ชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จาก 6 หมู่บ้าน ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย จำนวน ๕๐ คน ได้เดินทางมาที่ สภ.วังสะพุง เพื่อให้กำลังแม่หญิงชาวบ้าน ๗ คน ตามหมายเรียกให้มารับทราบข้อหาเพิ่มเติม”

ฐาน “ร่วมกันชุมนุมสาธารณะกีดขวางทางเข้าออกและรบกวนการปฏิบัติงานในสถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ” นอกเหนือจากข้อหา “ร่วมกันข่มขืนใจสมาชิก อบต.เขาหลวงโซนบน ๑๖ คน”

จากการเข้าร่วมประชุมและคัดค้าน “การขอต่ออายุใบอนุญาตใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้และส.ป.ก. เพื่อทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด” จนเกิดโกลาหลนำไปสู่การยกเลิกประชุมวันนั้น

การดังกล่าวทำให้แม่หญิงทั้งเจ็ดโดนข้อหาต่างๆ จากทั้งอัยการและ คณะ อบต. กันอ่วม ทั้ง “ประมวลกฏหมายอาญามาตรา ๕๘, ๘๓, ๙๑, ๑๓๘, ๑๔๐, ๓๐๙, ๓๙๑, และ ๓๙๒”


นี่ละ ชาวบ้านโดนกันอย่างนี้เพียงเพราะแสดงออกเรียกร้องสิทธิอันควรมีควรเป็นของตน ไม่ใช่ประชาธิปไตยแน่ๆ แม้จะ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขก็เถอะ

แล้วจะให้เรียกอะไร ถ้าไม่ใช่ รัฐฟาสซิสต์ ทหารครองเมือง ชำเรา ความคิดจิตใจประชากรผู้เห็นต่าง